คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ภาพรวมของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ภาพรวมของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ตั้งแต่ปี 2564 - 2566 สรุปได้ดังตาราง
2564 | 2565 | 2566 | ||||
ล้านบาท | เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ ปีก่อน (ร้อยละ) |
ล้านบาท | เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ ปีก่อน (ร้อยละ) |
ล้านบาท | เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ ปีก่อน (ร้อยละ) |
|
สินทรัพย์ | 56,668.69 | 26.12 | 69,148.57 | 22.02 | 77,528.92 | 12.12 |
หนี้สิน | 47,413.47 | 20.76 | 58,894.05 | 24.21 | 66,870.37 | 13.54 |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 9,255.22 | 63.30 | 10,254.52 | 10.80 | 10,658.55 | 3.94 |
รายได้ | ||||||
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ | 3,807.93 | 19.60 | 4,862.80 | 27.70 | 5,657.71 | 16.35 |
รายได้ค่าบริการ | 509.56 | 69.81 | 638.10 | 25.22 | 657.62 | 3.06 |
รายได้อื่น | 96.88 | (14.45) | 122.70 | 26.65 | 183.38 | 49.45 |
รวมรายได้ | 4,414.38 | 22.77 | 5,623.60 | 27.39 | 6,498.71 | 15.56 |
ค่าใช้จ่าย | ||||||
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร | 1,049.22 | 6.19 | 1,126.66 | 7.38 | 1,281.31 | 13.73 |
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย | 816.72 | 46.55 | 1,264.88 | 54.87 | 1,779.05 | 40.65 |
ต้นทุนทางการเงิน | 1,039.13 | 11.78 | 1,335.61 | 28.53 | 1,909.51 | 42.97 |
รวมค่าใช้จ่าย - ไม่รวมภาษีเงินได้ | 2,905.07 | 17.37 | 3,727.15 | 28.30 | 4,969.87 | 33.34 |
กำไรสำหรับปี | 1,202.84 | 36.21 | 1,512.14 | 25.72 | 1,218.77 | (19.40) |
กำไรต่อหุ้น1 (บาท) | 2.62 | 4.38 | 2.86 | 9.16 | 2.31 | (19.23) |
ยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ | 30,843.76 | 51.43 | 35,606.68 | 15.44 | 35,313.93 | (1.04) |
พอร์ตสินเชื่อรวม-ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | 55,728.79 | 25.26 | 67,605.39 | 21.31 | 75,257.47 | 11.32 |
พอร์ตสินเชื่อรวม-สุทธิ | 54,396.31 | 25.18 | 65,844.18 | 21.05 | 73,052.27 | 10.95 |
1 | ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทและบริษัทย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 10,658.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 10,254.52 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 ซึ่งเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นส่งผลให้กำไรสะสมของบริษัทและบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น โดยมีทุนชำระแล้วจำนวน 2,639.22 ล้านบาท และมีกำไรสะสมเท่ากับ 5,179.43 ล้านบาท
รายได้รวมในปี 2566 มีจำนวน 6,498.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 5,623.60 ล้านบาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.56 เป็นผลมาจากการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งรายได้หลักคือรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อ คิดเป็นร้อยละ 74.06 ของรายได้รวมในปี 2566 และคิดเป็นร้อยละ 74.13 ของรายได้รวมในปี 2565
กำไรสำหรับปี 2566 มีจำนวน 1,218.77 ล้านบาท ลดลงจาก 1,512.14 ล้านบาท ในปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 19.40 สำหรับอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ในปี 2566 เท่ากับร้อยละ 18.75 ลดลงจากในปี 2565 ที่เท่ากับร้อยละ 26.89 และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับร้อยละ 11.71 ลดลงจากสิ้นปี 2565 ที่เท่ากับร้อยละ 15.69
พอร์ตสินเชื่อ ก่อนการหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในปี 2566 มีจำนวน 75,257.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 67,605.39 ล้านบาท ในปี 2565 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.32 ในขณะที่สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับร้อยละ 4.70 ของพอร์ตสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.47 ของพอร์ตสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2565 เป็นผลมาจากการตกชั้นของลูกหนี้ สำหรับอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) เท่ากับร้อยละ 62.32 สิ้นปี 2566 ลดลงจากร้อยละ 75.04 ณ สิ้นปี 2565
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละกลุ่มธุรกิจ
รายได้
รายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564-2566 มีจำนวน 4,414.38 ล้านบาท, 5,623.60 ล้านบาท และ 6,498.71 ล้านบาท ตามลำดับ โดยรายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ รองลงมาเป็นรายได้ค่าบริการ
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 3,807.93 ล้านบาท, 4,862.80 ล้านบาท และ 5,657.71 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.70 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.35 จากปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยจากจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ในปี 2564 – 2566 คิดเป็นร้อยละ 86.26, ร้อยละ 86.47 และร้อยละ 87.06 ของรายได้รวม ตามลำดับ
รายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อ
รายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 3,288.02 ล้านบาท, 4,168.89 ล้านบาท และ 4,813.16 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.79 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.45 จากปี 2565 โดยการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ โดยที่ยอดลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ณ สิ้นปี 2564 – 2566 เท่ากับ 49,888.06 ล้านบาท, 60,637.60 ล้านบาท ละ 67,716.34 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยเช่าซื้อในปี 2564 – 2566 คิดเป็นร้อยละ 74.48, ร้อยละ 74.13 และร้อยละ 74.06 ของรายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ตามลำดับ
รายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าการเงิน (ลีสซิ่ง)
รายได้ดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าการเงินของบริษัทย่อย (บมจ. กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส) ในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 63.58 ล้านบาท, 79.72 ล้านบาท และ 85.70 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.39 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.50 จากปี 2565 เป็นผลมาจากการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อสัญญาเช่าการเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยที่ยอดลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ณ สิ้นปี 2564 - 2566 เท่ากับ 1,114.15 ล้านบาท, 1,255.42 ล้านบาท และ 1,325.25 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้จากสัญญาเช่าการเงินในปี 2564 – 2566 คิดเป็นร้อยละ 1.44, ร้อยละ 1.42 และร้อยละ 1.32 ของรายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ตามลำดับ
รายได้ดอกเบี้ยจากการซื้อสิทธิเรียกร้อง (แฟคตอริ่ง)
รายได้ดอกเบี้ยจากการซื้อสิทธิเรียกร้องของบริษัทย่อย (บมจ. กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส) ในปี 2564 - 2566 มีจำนวน 2.88 ล้านบาท, 2.38 ล้านบาท และ 0.09 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 ลดลงร้อยละ 17.36 จากปี 2564 และปี 2566 ลดลงร้อยละ 96.22 จากปี 2565 เนื่องจากบริษัทย่อยหยุดให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่งตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2566โดยที่ยอดลูกหนี้จากการซื้อสิทธิเรียกร้องก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ณ สิ้นปี 2564 - 2565 เท่ากับ 126.84 ล้านบาท และ 16.49 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2566 ไม่มียอดลูกหนี้จากการซื้อสิทธิเรียกร้องเนื่องจากบริษัทย่อยหยุดให้บริการสินเชื่อแฟคตอริ่ง
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืม
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 453.45 ล้านบาท, 611.81 ล้านบาท และ 758.76 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.92 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.02 จากปี 2565 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของพอร์ตเงินให้กู้ยืม จากการที่บริษัทปล่อยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมมากขึ้น ซึ่งโดยส่วนมากเป็นการเพิ่มขึ้นของการให้สินเชื่อจำนำทะเบียน ซึ่งยอดลูกหนี้เงินให้กู้ยืมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ณ สิ้นปี 2564 – 2566 เท่ากับ 4,599.74 ล้านบาท, 5,695.88 ล้านบาท และ 6,215.88 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมในปี 2564 – 2566 คิดเป็นร้อยละ 10.27, ร้อยละ 10.88 และร้อยละ 11.68 ของรายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ตามลำดับ
รายได้ค่าบริการ
รายได้ค่าบริการในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 509.57 ล้านบาท, 638.10 ล้านบาท และ 657.62 ล้านบาท ตามลำดับ รายได้ค่าบริการประกอบด้วย รายได้ค่าบริการจากธุรกิจนายหน้าประกันภัย และรายได้ค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ซึ่งรายได้ค่าบริการส่วนมากเป็นรายได้ค่าบริการจากธุรกิจนายหน้าประกันภัย คิดเป็นร้อยละ 92.07 ของรายได้ค่าบริการในปี 2566
รายได้ค่าบริการจากธุรกิจนายหน้าประกัน
รายได้ค่าบริการจากธุรกิจนายหน้าประกันภัยของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 435.05 ล้านบาท, 585.96 ล้านบาท และ 605.48 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.69 จากปี 2564 ตามปริมาณการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 จากปี 2565 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายประกันแก่บุคคลภายนอก
รายได้อื่น
รายได้อื่นของบริษัท เช่น รายได้ค่าปรับล่าช้า เงินปันผลรับ และรายได้จากการขายไฟฟ้า เป็นต้น รายได้อื่นของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 96.88 ล้านบาท, 122.70 ล้านบาท และ 183.38 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.65 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.45 จากปี 2565 โดยการเพิ่มขึ้นของรายได้อื่นในปี 2566 ส่วนใหญ่มาจากรายได้จากการขายไฟฟ้าของบริษัทย่อย
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวม (รวมผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย ต้นทุนทางการเงิน ไม่รวมค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) ของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 2,905.07 ล้านบาท, 3,727.15 ล้านบาท และ 4,969.87 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.30 จากปี 2564 และปี 2566เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.34 จากปี 2565 ค่าใช้จ่ายรวมส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน รองลงมาเป็น ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 1,049.22 ล้านบาท, 1,126.66 ล้านบาท และ 1,281.31 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.38 จากปี 2564 เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการขายที่สูงขึ้นตามการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อใหม่ ในขณะที่ประสิทธิภาพในการดำเนินงานดีขึ้น และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.73 จากปี 2565 จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายจากธุรกิจผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และค่าใช้จ่ายพนักงาน จากการเพิ่มจำนวนพนักงานและการขยายสาขา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในปี 2566 เท่ากับร้อยละ 27.91 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.26 ในปี 2565 แต่ลดลงจากร้อยละ 31.07 ในปี 2564 สำหรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในปี 2564 – 2566 เท่ากับร้อยละ 36.12, ร้อยละ 30.23 และร้อยละ 25.78 ของค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายพนักงาน
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขาย
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 816.72 ล้านบาท, 1,264.88 ล้านบาท และ 1,779.05 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.87 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.65 จากปี 2565 เป็นผลมาจากการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นตามการตกชั้นของลูกหนี้ และการตัดจำหน่ายหนี้สูญ นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นในปี 2566 ยังเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รอการขาย โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายในปี 2564 – 2566 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.11, ร้อยละ 33.94 และร้อยละ 35.80 ของค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) ตามลำดับ ทั้งนี้บริษัทมีอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อลูกหนี้รววม (ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ: Credit Cost) ในปี 2564 – 2566 เท่ากับร้อยละ 1.36 ร้อยละ 1.66 และร้อยละ 1.67 ตามลำดับ
ต้นทุนทางการเงิน
ต้นทุนทางการเงินถือเป็นต้นทุนหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่าย และค่าธรรมเนียมจากการค้ำประกัน ค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 1,039.13 ล้านบาท, 1,335.61 ล้านบาท และ 1,909.51 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.53 จากปี 2564 และปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.97 จากปี 2565 เพิ่มขึ้นตามปริมาณเงินกู้ยืมที่มากขึ้นจากการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อ และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจ่ายตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอัตราดอกเบี้ยจ่ายในปี 2564 – 2566 เท่ากับร้อยละ 2.55, ร้อยละ 2.63 และร้อยละ 3.14 ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายทางการเงินในปี 2564 – 2566 มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 35.77, ร้อยละ 35.83 และร้อยละ 38.42 ของค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้) ตามลำดับ
กำไรสำหรับปี
กำไรสำหรับปี 2564 – 2566 ของบริษัทและบริษัทย่อย มีจำนวน 1,202.80 ล้านบาท, 1,512.14 ล้านบาท และ 1,218.77 ล้านบาท ตามลำดับ โดยในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.72 จากปี 2564 เป็นผลมาจากการเติบโตของการปล่อยสินเชื่อใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ในขณะที่ปี 2566 ลดลงร้อยละ 19.40 จากปี 2565 จากการชะลอตัวของการปล่อยสินเชื่อใหม่ และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากคุณภาพสินทรัพย์
ทั้งนี้ อัตราส่วนกำไรสุทธิของบริษัทในปี 2564 – 2566 เท่ากับร้อยละ 27.25 ร้อยละ 26.89 และร้อยละ 18.75 ตามลำดับ สำหรับกำไรต่อหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในปี 2564 – 2566 เท่ากับ 2.62 บาทต่อหุ้น, 2.86 บาทต่อหุ้น และ 2.31 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ
การวิเคราะห์ฐานะการเงิน
สินทรัพย์
สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 56,668.69 ล้านบาท, 69,148.57 ล้านบาท และ 77,528.92 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.02 จากสิ้นปี 2564 และสิ้นปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.12 จากสิ้นปี 2565 โดยสินทรัพย์รวมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นผลมาจากการขยายตัวของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ (สุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) ซึ่งเป็นสินทรัพย์หลักของบริษัทและบริษัทย่อย โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.18, ร้อยละ 85.66 และร้อยละ 84.86 ของสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2564 – 2566 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินทรัพย์หลักของบริษัทและบริษัทย่อย สรุปได้ดังนี้
พอร์ตสินเชื่อรวม
พอร์ตสินเชื่อรวมสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) ของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 54,396.31 ล้านบาท, 65,844.18 ล้านบาท และ 73,052.27 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.05 จากสิ้นปี 2564 และสิ้นปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.95 จากสิ้นปี 2565 โดยรายละเอียดของพอร์ตลูกหนี้หลักแต่ละประเภท มีดังนี้
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ (สุทธิ-หลังหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) ของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2563 - 2565 มีจำนวน 39,881.93 ล้านบาท 48,837.71 ล้านบาท และ 59,234.97 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.46 จากสิ้นปี 2563 และสิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.29 จากสิ้นปี 2564 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ โดยยอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2565 มีจำนวน 30,024.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.06 จากปี 2564 ที่มีจำนวน 25,431.57 ล้านบาท
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน (สุทธิ-หลังหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) ของบริษัทย่อย (บมจ. กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส) ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 1,081.89 ล้านบาท, 1,235.24 ล้านบาท และ 1,300.34 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.17 จากสิ้นปี 2564 และสิ้นปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 จากสิ้นปี 2565 เป็นผลจากการขยายตัวของการให้สินเชื่อของบริษัทย่อย โดยการปล่อยสินเชื่อเช่าการเงินของบริษัทย่อยในปี 2566 มีจำนวน 615.04 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปี 2565 ที่มีจำนวนเท่ากับ 656.69 ล้านบาท
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม
ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม (สุทธิ-หลังหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) ของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 4,411.85 ล้านบาท, 5,357.58 ล้านบาท และ 5,961.93 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.44 จากสิ้นปี 2564 และสิ้นปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.28 จากสิ้นปี 2565 ซึ่งลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นผลมาจากการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อเงินให้กู้ยืม โดยยอดปล่อยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2566 มีจำนวน 5,012.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 จากปี 2565 ที่มีจำนวนเท่ากับ 4,925.36 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนของบริษัท จำนวน 3,055.86 ล้านบาท และสินเชื่อเงินให้กู้ยืมของบริษัทย่อย จำนวน 1,956.24 ล้านบาท
คุณภาพลูกหนี้ของบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัทและบริษัทย่อยมีการจัดชั้นลูกหนี้ตามสถานะของลูกหนี้แต่ละราย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เพื่อใช้ในการประเมินและบริหารจัดการลูกหนี้ โดยแบ่งตามขั้นของความเสี่ยงด้านเครดิต ดังนี้
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อคงเหลือของบริษัทและบริษัทย่อยแบ่งตามขั้นของความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ขั้นความเสี่ยงด้านเครดิต | มูลค่าลูกหนี้ (ล้านบาท) |
ร้อยละ | ค่าเผื่อผลขาดทุน
ด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น |
ลูกหนี้ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 1) | 58,320.26 | 86.13 | 453.02 |
ลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 2) | 6,178.19 | 9.12 | 701.71 |
ลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ขั้นที่ 3) | 3,217.89 | 4.75 | 771.61 |
รวม* | 67,716.34 | 100.00 | 1,926.34 |
หักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | 1,926.34 | ||
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อสุทธิ | 65,790.00 |
หมายเหตุ: * ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ คำนวณจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อหลังหักดอกผลเช่าซื้อที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินคงเหลือของบริษัทย่อยแบ่งตามขั้นของความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ขั้นความเสี่ยงด้านเครดิต | มูลค่าลูกหนี้ (ล้านบาท) |
ร้อยละ |
ค่าเผื่อผลขาดทุน
ด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น |
ลูกหนี้ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 1) | 1,285.84 | 97.03 | 7.03 |
ลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 2) | 8.41 | 0.63 | 1.26 |
ลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ขั้นที่ 3) | 31.00 | 2.34 | 16.59 |
รวม* | 1,325.25 | 100.00 | 24.19 |
หักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | 24.91 | ||
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินสุทธิ | 1,300.34 |
หมายเหตุ: * ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงิน คำนวณจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินหลังหักดอกเบี้ยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ลูกหนี้ตามสัญญาเงินให้กู้ยืมของบริษัทและบริษัทย่อยแบ่งตามขั้นของความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
ขั้นความเสี่ยงด้านเครดิต | มูลค่าลูกหนี้ (ล้านบาท) | ร้อยละ |
ค่าเผื่อผลขาดทุน
ด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น |
ลูกหนี้ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 1) | 5,598.89 | 90.07 | 67.43 |
ลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ขั้นที่ 2) | 327.27 | 5.27 | 62.90 |
ลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ขั้นที่ 3) | 289.72 | 4.66 | 123.62 |
รวม* | 6,215.88 | 100.00 | 253.95 |
หักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | 253.95 | ||
ลูกหนี้จากการซื้อสิทธิเรียกร้องสุทธิ | 5,961.93 |
หมายเหตุ: * ลูกหนี้ตามสัญญาเงินให้กู้ยืม คำนวณจากลูกหนี้ตามสัญญาเงินให้กู้ยืมหลังหักค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ในปี 2564 – 2566 เท่ากับร้อยละ 2.71, ร้อยละ 3.47 และร้อยละ 4.70 ของพอร์ตสินเชื่อรวม ตามลำดับ
ความเพียงพอของการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัทมีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน โดยฝ่ายบริหารใช้ดุลยพินิจในการประมาณการผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้มีปัญหาในการจ่ายชำระคืนหนี้เงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย โดยใช้การวิเคราะห์สถานะของลูกหนี้ทั้งรายตัวและรายกลุ่ม ความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระของลูกหนี้ ส่วนสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ประสบการณ์ในการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ มูลค่าของหลักประกัน ข้อมูลสถิติและประมาณการตัวแปรทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในการกำหนดสมมติฐานและสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งกำหนดระดับความน่าจะเป็นของแต่ละสถานการณ์ ทั้งนี้ อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ณ สิ้นปี 2566 อยู่ในอัตราร้อยละ 62.32 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่เพียงพอและเหมาะสมตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน
ลูกหนี้ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต | ลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต | ลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต | รวม | |
มูลค่าลูกหนี้ (ล้านบาท) | 65,204.99 | 6,513.87 | 3,538.61 | 75,257.47 |
ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | 527.51 | 765.87 | 911.82 | 2,205.20 |
ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต | 62.32 |
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์) ของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 168.64 ล้านบาท, 202.62 ล้านบาท และ 497.63 ล้านบาท ตามลำดับ โดยการเพิ่มขึ้นในปี 2566 เป็นเพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ในธุรกิจผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทย่อย
สินทรัพย์รอการขาย
สินทรัพย์รอการขายของบริษัทและบริษัทย่อย ได้แก่ รถยนต์และเครื่องจักรที่ยึดคืนจากลูกหนี้ตามสัญญา เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้ โดย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 122.07 ล้านบาท, 556.55 ล้านบาท และ 1,570.43 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่ง ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวนทรัพย์สินที่ยึดคืนคงเหลือจำนวน 217 ราย, 587 ราย และ 1,522 ราย ตามลำดับ โดยการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รอการขายในปี 2565 และ 2566 เป็นผลจากการที่บริษัทมีการยึดสินทรัพย์คืนจากลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนด อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสินทรัพย์รอการขายกับจำนวนสัญญาคงเหลือ ยังถือได้ว่าเป็นจำนวนน้อย โดยจำนวนสัญญาคงเหลือ ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 55,656 สัญญา 63,279 สัญญา และ 69,912 สัญญา ตามลำดับ
หนี้สินรวม
หนี้สินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 47,413.47 ล้านบาท, 58,894.05 ล้านบาท และ 66,870.37 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.21 จากสิ้นปี 2564 และสิ้นปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 จากสิ้นปี 2565 โดยการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมเพื่อรองรับการปล่อยสินเชื่อและการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
ตารางแสดงรายละเอียดหนี้สินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย
(ล้านบาท)
ประเภทเงินกู้ยืม | ณ 31 ธันวาคม | |||||
2564 | 2565 | 2566 | ||||
ล้านบาท | ร้อยละ | ล้านบาท | ร้อยละ | ล้านบาท | ร้อยละ | |
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร | 4,280.00 | 9.02 | 500.00 | 0.85 | 2,790.00 | 4.17 |
เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี | 7,859.67 | 16.58 | 6,449.18 | 10.95 | 15,148.11 | 22.65 |
เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น | 4,686.94 | 9.89 | 10,500.34 | 17.83 | 4,329.95 | 6.48 |
หุ้นกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี | 3,556.02 | 7.50 | 4,748.71 | 8.06 | 9,663.30 | 14.45 |
หุ้นกู้ระยะสั้น | 499.98 | 1.05 | - | - | - | - |
เงินกู้ยืมระยะสั้นรวม | 20,882.61 | 44.04 | 22,198.23 | 37.69 | 31,931.36 | 47.75 |
เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร | 16,092.16 | 33.94 | 22,466.05 | 38.14 | 15,354.50 | 22.96 |
หุ้นกู้ระยะยาว | 8,018.45 | 16.91 | 11,458.51 | 19.46 | 16,878.51 | 25.24 |
เงินกู้ยืมระยะยาวรวม | 24,110.61 | 50.85 | 33,924.56 | 57.60 | 32,233.01 | 48.20 |
เงินกู้ยืมรวม | 44,993.22 | 94.89 | 56,122.79 | 95.29 | 64,164.37 | 95.95 |
หนี้สินอื่น 1 | 2,420.25 | 5.11 | 2,771.26 | 4.71 | 2,706.00 | 4.05 |
หนี้สินรวม | 47,413.47 | 100.00 | 58,894.05 | 100.00 | 66,870.37 | 100.00 |
ที่มา: งบการเงินรวมของบริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี สำหรับปี 2564 – 2566
หมายเหตุ: 1หนี้สินอื่น ประกอบด้วย หนี้สินตามสัญญาเช่า เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินวางประกันของลูกค้า หนี้สินตราสารอนุพันธ์ และสำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน
บริษัทและบริษัทย่อยมีเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี) ณ สิ้นปี 2564 – 2566 จำนวน 20,882.61 ล้านบาท 22,198.23 ล้านบาท และ 31,931.36 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 44.04 ร้อยละ 37.69 และร้อยละ 47.75 ของหนี้สินรวม ตามลำดับ
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย (Debt to Equity Ratio) ณ สิ้นปี 2564 – 2566 เท่ากับ 5.12 เท่า 5.74 เท่า และ 6.27 เท่า ตามลำดับ
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2564 – 2566 มีจำนวน 9,255.22 ล้านบาท 10,254.52 ล้านบาท และ 10,658.55 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากกำไรจากการดำเนินงาน โดยมีกำไรสะสมในปี 2566 เท่ากับ 5,179.43 เพิ่มขึ้นจาก 4,719.75 ล้านบาท ในปี 2565
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) ในปี 2564 – 2566 เท่ากับ ร้อยละ 15.66 ร้อยละ 15.69 และร้อยละ 11.71 ตามลำดับ
สภาพคล่อง
กำหนดการจ่ายชำระคืนเงินกู้จากยอดเงินกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 และเงินค่างวดที่คาดว่าจะได้รับในช่วงระยะเวลาต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ระยะเวลา | กำหนดชำระคืนหนี้เงินกู้ยืม | ค่างวดที่จะได้รับชำระจากลูกหนี้ |
ภายใน 1 ปี | 33,323.67 | 29,849.58 |
เกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี | 23,985.71 | 22,038.24 |
เกินกว่า 2 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี | 4,061.94 | 16,462.03 |
เกินกว่า 3 ปี | 5,775.85 | 17,363.59 |
รวม | 67,147.17 | 85,713.44 |
บริษัทมีเงินกู้ยืมที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี มากกว่าค่างวดที่จะได้รับจากลูกหนี้ภายใน 1 ปี เป็นจำนวน 3,474.09 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ส่วนต่างดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อบริษัทและบริษัทย่อย เนื่องจากบริษัทสามารถต่อสัญญาเงินกู้ต่อไปได้เมื่อถึงกำหนดชำระคืน และสามารถออกหุ้นกู้ใหม่ทดแทนได้อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทและบริษัทย่อยยังมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือจากสถาบันการเงินอีกประมาณ 11,462 ล้านบาท ไว้สำรอง ปัจจัยเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและความเพียงพอของสถานะทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย
บริษัทและบริษัทย่อยมีการปรับปรุงโครงสร้างแหล่งที่มาของเงินทุนให้เหมาะสม โดยเพิ่มสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะยาวต่อเงินกู้ยืมระสั้นให้มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะยาวต่อเงินกู้ยืมระยะสั้นเท่ากับ 89:11
ประเภทเงินกู้ยืม | ณ 31 ธันวาคม | |||||
2564 | 2565 | 2566 | ||||
ล้านบาท | % | ล้านบาท | % | ล้านบาท | % | |
เงินกู้ยืมระยะสั้น - ไม่รวมเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี | 9,466.92 | 21.04 | 11,000.34 | 19.60 | 7,119.95 | 11.10 |
เงินกู้ยืมระยะยาวรวม - รวมส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี | 35,526.30 | 78.96 | 45,122.45 | 80.40 | 57,044.42 | 88.90 |
เงินกู้ยืมรวม | 44,993.22 | 100.00 | 56,122.79 | 100.00 | 64,164.37 | 100.00 |
กระแสเงินสด
บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรก่อนภาษีในปี 2564 – 2566 จำนวน 1,509.32 ล้านบาท 1,896.45 ล้านบาท และ 1,528.84 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อรวมกับรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดและการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ ทำให้บริษัทและบริษัทย่อยมีเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงานในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 9,126.91 ล้านบาท 10,250.89 ล้านบาท และ 7,357.34 ล้านบาท ตามลำดับ เป็นผลมาจากการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อของบริษัทและบริษัทย่อย โดยมีกระแสเงินสดที่ใช้ในการขยายตัวของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 9,929.21 ล้านบาท 12,229.53 ล้านบาท และ 9,857.57 ล้านบาท ตามลำดับ และกระแสเงินสดเพื่อการขยายตัวของลูกหนี้ตามสัญญาเงินให้กู้ยืมในปี 2564 – 2566 มีจำนวน 1,821.20 ล้านบาท 1,212.00 ล้านบาท และ 1,208.65 ล้านบาท ตามลำดับ
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมการลงทุนของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวนเท่ากับ 10.25 ล้านบาท 62.97 ล้านบาท และ 310.35 ล้านบาท ตามลำดับ เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมการลงทุนปี 2566 เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากบริษัทมีการลงทุนซื้ออุปกรณ์และยานพาหนะ โดยเป็นอุปกรณ์โซล่าเซลล์สำหรับธุรกิจผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทย่อย
นอกจากนี้ มีเงินสดสุทธิได้มาจากการจัดหาเงินของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2564 – 2566 มีจำนวนเท่ากับ 9,213.54 ล้านบาท 10,443.76 ล้านบาท และ 7,617.37 ล้านบาท ตามลำดับ โดยส่วนมากเป็นเงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ระยะยาว และเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร
ความสามารถในการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืม (Covenant) และภาระผูกพันที่สำคัญ
บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อกำหนดทางการเงินของธนาคารที่ให้กู้ยืมเงิน โดยบริษัทต้องรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ระดับไม่เกิน 10 เท่า ซึ่งบริษัทสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ตลอดมา โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 6.27 เท่า
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
ในปี 2566 บริษัทและบริษัทย่อยยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ โดยมีลูกหนี้ที่อยู่ในโครงการช่วยเหลือคิดเป็นร้อยละ 6.46 ของลูกหนี้ทั้งหมด